วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

เมื่อดิฉันได้เรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วทำให้รู้จักการตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย แต่งกายให้สุภาพ ตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยวางไว้และในการเรียนแต่ละครั้งก็จะมีการทำกิจกรรมของแขนงต่างๆและได้เชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อต่างๆและได้รับประโยชน์ต่างๆมากมายที่สำคัญเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้
รวมไปถึงการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาไทย ได้ฝึกการเขียนลายมือ การร่วมกลุ่มการทำงานเป็นทีม การนำเอาความรู้ที่เราได้เรียนมาไปสอนน้องๆในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ

ในวันปัจฉิมนิเทศ อาจารย์ได้นิมนต์พระอาจารย์มาให้ความรู้คำแนะนำที่ดีในการออกไปสู่โลกกว้างการอยู่ร่วมกันในหมู่คนมากมาย
พระอาจารย์สมพงษ์ เป็นหนึ่งในคณะ ธรรมะเดลิเวอร์รี่ท่านได้ให้ข้อคิดหลายอย่างดังนี้
1.น้ำที่ไหนก็สู้น้ำใจไม่ได้
2..อย่า ท้อเมื่อพลาดพลั้งทำ ความหวังขึ้นมาใหม่นม นานสักเพียงใดหก ล้มไปเพียงชั่วคราว
3.ศรัทธาในสิ่งที่เรามี ยินดีในสิ่งที่เราเป็น
4.บางสิ่งก็ไม่ควรจำถ้ามันทำให้ใจเจ็บ บางสิ่งก็ควรจะเก็บถ้ามันเป็นความเจ็บที่น่าจำ
5.เวลามีปัญหาอย่าใช้แต่อารมณ์
และสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและดิฉันจะนำเอาความรู้ประโยชน์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้มาโดยตลอด

ขอบคุณค่ะ

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่6

ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent orMother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนด

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่5

เรื่อง Strack
สแตก(Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก
จะกระทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (TopOf Stack) และ ลักษณะที่สำคัญของสแตก
การดำเนินงานพื้นฐานของสแตก
การทำงานต่าง ๆ ของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของ สแตกเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีตัวชี้ตำแหน่งข้อมูลบนสุดของสแตกด้วย
การทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก
2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่
บนสุดของสแตก
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่4

เรื่อง Linked List

ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน

ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง

โหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูล

แรกของลิสต์ (Head)

2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล

(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน

1. กระบวนงาน Create List

2. กระบวนงาน Insert Node

3. กระบวนงาน Delete Node

4. กระบวนงาน Search list

5. กระบวนงาน Traverse

6. กระบวนงาน Retrieve Node

7. ฟังก์ชั่น EmptyList

8. ฟังก์ชั่น FullList

9. ฟังก์ชั่น list count

10. กระบวนงาน destroy list

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่3


เรื่องSet and String
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มี
ความสัมพันธ์กัน ในภาษาซี
ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)
ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference เป็นต้น
โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character
String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือ
เครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
(String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่2

เรื่อง Array and Record

เรียนเรื่อง อะเรย์ 1 มิติ และอาเรย์ 2มิติ การส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชัน

การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์

ถ้าเป็นอะเรย์มิติเดียว สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี

1. มีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า(พร้อมตัวอย่าง)

2. ไม่ต้องมีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า(พร้อมตัวอย่าง)

3. ตัวแปรที่ทำหน้าที่รับค่าถูกกำหนดเป็นพอยน์เตอร์(พร้อมตัวอย่าง)

อาเรย์ชนิดต่างๆคือ อาเรย์ ชนิดโครงสร้าง และมีตัวอย่างประกอบ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่1

รู้ถึงความหมายของโครงสร้างข้อมูล

ประเภทของโครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท

ขั้นตอนวิธีที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีความถูกต้อง
2. ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด
3. สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด
5. มีความยืดหนุ่นในการใช้งาน
6. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
7. ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

และรู้ว่าภาษาขั้นตอนวิธี Algorithm Language ทำอย่างไร คือ

1. ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2. การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3. นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับ
4. ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ
5. การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไข
6. การทำงานแบบซ้ำ
7. คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของ
ขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS-02/23/06/2552

#include < stdio.h >
#include < string.h >
void main()
{
struct communication {
char name[50];
char brand[50];
char colour[20];
char network[20];
int price;
char function[20];
char function1[20];
char function2[20];

};
struct communication mobile;
strcpy(mobile.name,"Telephone");
strcpy(mobile.brand,"Nokia N70");
strcpy(mobile.colour,"Black");
strcpy(mobile.network,"1-2call");
mobile.price=5500;
strcpy(mobile.function,"Game");
strcpy(mobile.function1,"Camera");
strcpy(mobile.function2,"Bluetooth");
printf("********* communicationi********\n\n");
printf("Name:%s\n",mobile.name);
printf("Brand:%s\n",mobile.brand);
printf("Colour:%s\n",mobile.colour);
printf("Network:%s\n",mobile.network);
printf("Price:%d\n",mobile.price);
printf("Function:%s\nFunction:%s\nFunction:%s\n",mobile.function,mobile.function1,mobile.function2);
}

สิ่งที่ฉันปรารถนา

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ





ชื่อนางสาว อุไลลักษณ์ พรหมศร ชื่อเล่น หลิน

รหัส 50132792053
Miss. Aulailuk Prommasorn
หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
e-mail :
u50132792053@gmail.com